บ้านณัฐ99 บริการรับจำนอง ขายฝาก ไถ่ถอน บ้าน ที่ดิน คอนโด อาคารพาณิชย์ อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท ดอกเบี้ยถูก รับเงินในวันเดียวจบ ยินดีให้คำปรึกษาฟรี Tel.065-924-2464 Line.baannut99
ภาษีป้าย ปัจจุบันเราจะพบเห็นภาษีป้ายเป็นจำนวนมากทั้งป้ายชื่อ ป้ายโฆษณา โดยเฉพาะในตัวเมืองที่เจริญจะเห็นป้ายโฆษณาจำนวนมากมาย ป้ายต่างๆเหล่านี้มีขนาดต่างๆกันตั้งแต่ขนาดเล้กจนถึงขนาดใหญ่มาก การเก็บภาษีป้ายจึงเป็นรายได้ทางหนึ่งของท้องถิ่น ในท้องถิ่นที่เจริญมีธุรกิจการค้ามากจะมีการขึ้นป้ายโฆษณากันมาก ท้องถิ่นก็จะเก็บภาษีป้ายได้มาก ผู้ประกอบธุรกิจควรจะมีความรู้เกี่ยวกับภาษีป้ายด้วย
ความหมายของคำว่าป้าย
คำว่า ป้ายหมายความว่า ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
ป้ายที่ได้รับการยกเว้นเสียภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายคือ เจ้าของป้าย ในกรณีที่ปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการสำหรับภาษีป้ายใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครองครองป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่ เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินภาษีป้ายเป็นหนังสือไปยังบุคคลดังกล่าว
ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย
สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย
ให้เจ้าของป้ายหรือผู้ซึ่งเจ้าของป้ายมอบหมายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ดังต่อไปนี้
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบภาษีป้าย
ช่องทางการชำระภาษี
เมื่อได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้วจะต้องยื่นชำระเงินค่าภาษีภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือ ประชาชนสามารถชำระภาษีได้จากช่องทางต่อไปนี้
หมายเหตุ การชำระภาษีผ่านธนาคารกรุงไทย บัตรเดบิต บัตรเครดิต ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย หรือทาง Internet เฉพาะการชำระภาษีประจำปีภายในกำหนดเวลาและธนาคารคิดค่าธรรมเนียม ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
โทษของการไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายหรือยื่นไม่ถูกต้อง
โทษของการไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายหรือยื่นไม่ถูกต้องนั้น มีโทษทางแพ่งและทางอาญา โทษทางแพ่งก็คือต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มนอกจากเงินภาษีที่ต้องเสียตามปกติกล่าวคือ
(1) ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย
(2) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีลดน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติมเว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่ พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน
(3) ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม (1) และ (2) มาคำนวณเป็นเงินเพิ่ม
อัตราค่าภาษีป้าย
การอุทธรณ์
เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อผู้ว่าราชการจังหวัด โดยยื่นอุทธรณ์ผ่านพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ฝ่ายรายได้สำนักงานเขตท้องที่ซึ่งยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ โดยต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่ยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วันหรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายมีอำนาจยกอุทธรณ์นั้นเสียได้
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จและแจ้งคำวินิจฉัยพร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์ หากผู้อุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยฟ้องเป็นคดีต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการยกอุทธรณ์เพราะผุ้อุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียก หรือไม่ยอมให้ถ้อยคำโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้อุทธรณ์จึงจะหมดสิทธิอุทธรณืต่อศาลอนึ่งศาลในที่นี้หมายถึง ศาลภาษี
การขอคืนเงินค่าภาษี
ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลให้มีการลดจำนวนเงินที่ได้ประเมินไว้ให้แจ้งผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบโดยเร็วเพื่อมาขอรับเงินคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ผู้ใดเสียภาษีป้ายโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีหรือเสียเกินกว่าที่ควรต้องเสียมีสิทธิได้รับเงินคืน การขอรับเงินคืน ให้ยื่นคำร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมาย ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เสียภาษีป้าย ในการนี้ให้ผู้ยื่นคำร้องส่งเอกสาร หลักฐานหรือคำชี้แจงใด ๆ ประกอบคำร้องด้วย เมื่อผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายเห็นว่าผู้ยื่นคำร้องมีสิทธิได้รับเงินคืน ให้สั่งคืนเงินให้โดยเร็ว และแจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบเพื่อมาขอรับเงินคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการกระทำใด ๆ เพื่อให้เสียภาษีป้ายน้อยลงกว่าที่ได้เสียไปแล้ว ให้มีผลเมื่อเริ่มต้นปี ภาษีป้าย"
บทลงโทษ
ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน1 ปีหรือปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่5,000-50,000 บาท ผู้ใดไม่ปฏิบัติดังนี้คือป้ายที่ติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น และมีพื้นที่เกิน 2 ตารางเมตรต้องมีชื่อและที่อยู่เจ้าของป้ายเป็นตัวอักษรไทยที่ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้าย ต้องระวางโทษปรับวันละ 100 บาท เรียงรายวันตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิด ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายคือให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วันนับแต่วันรับโอน หรือไม่แสดงการเสียภาษีป้าย (ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการ) ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่1,000-10,000 บาท
ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยไม่ให้เข้าไปในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย หรือบริเวณที่ต่อเนื่องกับสถานที่ดังกล่าว หรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีป้ายในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้ปฏิบัติการถูกต้องตามพระราชบัญญัติหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งบัญชีหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีป้ายมาตรวจสอบ ภายในกำหนดเวลาอันสมควรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับตั้งแต่1,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติเป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
*ภาษีป้าย ยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีป้าย (ภ.ป.1) ตั้งแต่ 5 มกราคม 2558 – 31 มีนาคม 2558 (อัตราค่าปรับ ไม่ยื่นแบบในเวลาที่กำหนด 10 % หรือเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ต่อเดือน กรณีไม่ชำระภาษีภายใน 15 วันนับแต่วันประเมิน)
ที่มา:หนังสือภาษีอากรธุรกิจ,คู่มือประชาชน สำหรับติดต่อราชการ
ณ ศูนย์บริการกรุงเทพมหานคร
|