บ้านณัฐ99 บริการรับจำนอง ขายฝาก ไถ่ถอน บ้าน ที่ดิน คอนโด อาคารพาณิชย์ อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท ดอกเบี้ยถูก รับเงินในวันเดียวจบ ยินดีให้คำปรึกษาฟรี Tel.065-924-2464 Line.baannut99
หลักเกณฑ์อายัดเงินเดือนโบนัสค่าตอบแทนต่างๆ
หลักเกณฑ์การอายัดเงินเดือน
โบนัสค่าตอบแทนต่างๆ
หากศาลตัดสินแล้ว เราควรติดต่อทนายโจทก์ว่าจะจ่ายอย่างไร
จะผ่อนชำระหรือจ่ายงวดเดียวก็แล้วแต่จะตกลงกัน หากลูกหนี้เพิกเฉยไม่ติดต่อไป ไม่ยอมจ่ายเงิน หรือตกลงเรื่อง การจ่ายเงินไม่ได้ทนายโจทก์ก็จะทำเรื่องขอยึดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือน หากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนแล้ว เจ้าหนี้รายที่สอง สาม สี่...จะทำเรื่องขออายัดซ้ำ้ไม่ได้ ต้องรอคิว ให้รายแรกอายัดครบก่อน หรืออาจจะขอหารส่วนแบ่งเงินที่ถูกอายัดจากเจ้าหนี้รายแรกก็ได้ ถ้ารอก็จะรอได้ไม่เกินสิบปี หากเกินสิบปีก็ จะหมดอายุความ เกณฑ์การอายัดเงินเดือนของกรมบังคับคดี หากลูกหนี้เป็นข้าราชการ/ลูกจ้างประจำของข้าราชการจะไม่ถูกอายัดเงินเดือน หากลูกหนี้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง เป็นพนักงานบริษัท ฯลฯ จะถูกอายัดเงินเดือน โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. อายัดเงินเดือนขั้นต่ำ 30 % *** ลูกหนี้เงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท --- อายัดไม่ได้ *** ลูกหนี้เงินเดือนเกิน 10,000 บาท อายัดได้ 30 % แต่จะต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้ใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 10000 บาท เช่น - ลูกหนี้เงินเดือน 9,500 บาท ไม่ถูกอายัด - ลูกหนี้เงินเดือน 12,000 บาท ถูกอายัด 2,000 บาท เหลือไว้ใช้จ่าย 10,000 บาท - ลูกหนี้เงินเดือน 15000 บาท ถูกอายัด 4500 บาท เหลือไว้ใช้จ่าย 10,500 บาท ***หากลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ เช่นค่าเลี้ยงดูบุตร ค่ารักษาพยาบาล สามารถนำหลักฐานไปขอลดหย่อนที่ กรมบังคับคดีเพื่อให้ลดเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้ *** การอายัดเงินเดือนจะให้บริษัทนำส่งหรือลูกหนี้นำส่ง กรมบังคับคดีเองก็ได้ 2. เงินโบนัส จะถูกอายัด 50 % 3. เงินตอบแทนการออกจากงาน จะถูกอายัด 100 % 4. เงินค่าตอบแทนต่างๆ / ค่าสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าตำแหน่ง *** การถูกอายัดจะขึ้นอยู่กับว่าเจ้าหน้าจะสืบทราบหรือไม่และร้องขอต่อศาลว่าจะอายัดเท่าไหร่ 5. บัญชีเงินฝาก ---อายัดได้ 6. เงิน กบข --- อายัดไม่ได้ 7. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำกับบริษัท ----อายัดไม่ได้ แต่ถ้าทำกองทุนต่างๆกับธนาคารต้องดูตามหลักเกณฑ์ของ กองทุนว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่และมีข้อห้าม การบังคับคดีหรือไม่ ถ้าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้และไม่มี ข้อห้ามก็จะอายัดได้ 8. เงินค่าวิทยะฐานะ (ค่าตำแหน่งทางวิชาการ) ถ้าเป็นข้าราชการจะไม่ถูกอายัด แต่ถ้าเป็นสังกัดเอกชนจะถูกอายัด เพราะถือว่าเป็นเงินเดือน 9.หุ้น ---กรมบังคับคดีสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาดได้ หรือ ถ้ามีเงินปันผล ก็จะทำเรื่องอายัดเงินปันผลได้ 10. เงินสหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัท หากเจ้าหนี้สืบทราบว่าเป็นสมาชิกสหกรณ์ใด สามารถอายัดเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน เงินค่าหุ้นสหกรณ์ได้ 11. ร่วมทุนกับผู้อื่นเปิดบริษัท ---หากผู้ร่วมลงทุนมีปัญหาถูกอายัดทรัพย์---กรมบังคับคดีจะอายัดเฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์สินของผู้ถูกอายัดเท่านั้น ไม่ได้อายัดทั้งหมด อาจดูเฉพาะส่วนของเงินปันผล ใบหุ้นฯลฯ ของผู้ถูกอายัด การถูกอายัดเงินเดือน กรมบังคับคดีจะอายัด 30% จากเงินเดือนเต็ม เช่น 15000 บาท ถูกอายัด 4500 บาท จะเหลือเงิน ไว้ใช้จ่ายจ่ายภาษี ประกันสังคม ฯลฯ 10500 บาท การอายัดเงินเดือน ลูกหนี้จะถูกอายัดจากยอดเงินเดือนเต็ม หากลูกหนี้ผู้ถูกอายัดเงินเดือนมีภาระที่ต้องจ่ายเงินกู้ให้แก่ หน่วยงานอื่น เช่นสหกรณ์ต่างๆ ลูกหนี้จะต้องคำนวนดูว่าเงินเดือนที่เหลือจากการถูกอายัดมีเพียงพอ ที่จะใช้จ่ายประจำวันตลอดเดือนและเหลือพอที่จะจ่ายเงินกู้คืนให้ สหกรณ์หรือไม่ หากไม่เพียงพอลูกหนี้ผู้นั้นควรจะเจรจากับทางสหกรณ์ หาทางลดหย่อนยอดเงินที่ต้องชำระคืนในแต่ละเดือนโดยอาจจะยืดระยะผ่อนชำระให้นานออกไป(ในกรณีที่ถูกหักบัญชีอัตโนมัติ) หากลูกหนี้นำจ่ายเงินกู้คืนด้วยตนเองอาจใช้วิธีที่แนะนำไปแล้วหรือ อาจจะหยุดจ่ายและให้ทางสหกรณ์ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายและอายัดเงินเดือนต่อไป จะเลือกใช้วิธีใดก็ขอให้คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับสหกรณ์นั้นๆด้วย หากลูกหนี้ถูกอายัดเงินเดือนและถูกหักเงินกู้สหกรณ์แล้ว ยังมีเงินพอใช้และเหลือเก็บบ้างก็ถือว่าไม่เป็นไรไม่ต้องกังวล แต่หากถูกอายัดเงินเดือนและถูกหักเงินกู้สหกรณ์แล้วเงินเหลือไม่พอใช้จ่ายก็ควรหาทางแก้ไข เพราะถ้าไม่แก้ไขมันอาจจะนำไปสู่ปัญหาการหมุนจ่ายแบบเดิมอีกรอบ ทำให้แก้ไขปัญหาหนี้ไม่หมดสักที นอกจากที่กล่าวมาทั้งสองวิธีนี้ 1 .เจรจากับทางสหกรณ์ หาทางลดหย่อนยอดเงินที่ต้องชำระคืนในแต่ละเดือนโดยอาจจะยืดระยะผ่อนชำระให้นานออกไป(ในกรณีที่ถูกหักบัญชีอัตโนมัติ) 2. อาจจะหยุดจ่ายและให้ทางสหกรณ์ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายและอายัดเงินเดือนต่อไป (วิธีนี้อาจสร้างปัญหาให้กับสหกรณ์ได้) ลูกหนี้ยังสามารถใช้วิธีที่3 คือ 3.ลูกหนี้สามารถนำยอดเงินที่ถูกหักจ่ายคืนให้สหกรณ์มาขอ ลดหย่อนเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้ (ขอลดหย่อนได้สูงสุด 50% เท่านั้น) หมายความว่า ให้ลูกหนี้นำยอดภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ลูกหนี้ต้องจ่ายรวมทั้งเงินที่ต้องชำระคืนแก่สหกรณ์มารวมยอดและขอลดยอด การอายัดเงินเดือน ไม่ให้กรมบังคับคดีอายัดเงินเดือนจาก ยอดเต็มถึง 30 % ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ในการขอลดยอดการถูกอายัดจะขอลดยอดได้มากที่สุด คือ 50% คือแทนที่จะถูกอายัดเงินเดือน 30% ลูกหนี้จะถูกอายัดเงินเดือน 15 % แทน
ที่มา:มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โทรศัพท์ 0-2248-3734-7
|
